Molecular Biotechnology Lab @ Suranaree University of Technology

WELCOME TO MYLAB @ SUT

Introductory Video

CONTACT US

Tel. 044-223358
mylabsut@gmail.com



MY Logo Color ban




MYLab ONLY


Username:

Password:




WHO'RE WE?

3C3A9985

Dr. Montarop Yamabhai has a dream to teach and inspire new generation of researchers in pursue of new and exciting innovations. In a cooperation with Suranaree University of Technology, Dr. Yamabhai’s dream has been realized as “Molecular Biotechnology Laboratory” or MYLab since May 1st, 2004. Under her supervision, students and researchers from all over the world are invited to join our program to exchange idea and share experiences.

MYLab is focusing on the application of high-throughput techniques for structure-function analysis of individual proteins or the role of each protein in different cellular activities, and for various biotechnological applications. Our current goal is implementing two main techniques that has been established in the laboratories, i.e.directed evolution and phage display technology, such ongoing projects involve improvement of various enzymes for biotechnological applications and engineering of antibodies for therapeutic and diagnostic purposes.


ห้องปฏิบัติการ อณูเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

IMG_5970

งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี อณูวิวัฒนาการ (molecular evolution) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ๒๕๖๑ ในการพัฒนา เอนไซม์ และแอนติบอดี เพื่อใช้สร้างนวัตกรรม ชีวผลิตภัณฑ์ ๒ ประเภทหลักคือ


๑. แพลตฟอร์มการผลิต น้ำตาลสายสั้น หรือโอลิโกแซคคาไรด์ คอซ และ มอซ ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบสูง นวัตกรรมนี้คือเทคโนโลยีการผลิต น้ำตาลสายสั้น หรือโอลิโกแซคคาไรด์ โดยการใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ ที่ได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ มาเกือบ ๒๐ ปี โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเอนไซม์ที่สามารถใช้แปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร คือสารแมนแนน จาก กากมะพร้าว กากกาแฟ และสารไคติน ไคโตซาน จาก เปลือกกุ้งปู แมลง และเห็ดรา ให้เป็น น้ำตาลสายสั้น หรือโอลิโกแซคคาไรด์ มอซ และ คอซ ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สูงเทียบเท่ากับยาประเภท steroid เมื่อทำการวิเคราะห์ในเซลล์เม็ดเลือดขาวมนุษย์ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่ละลายน้ำได้ดี จึงสามารถนำมาใช้เป็นสารสำคัญใน เครื่องสำอาง เวชสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพได้อย่างหลากหลาย ขณะนี้ผลงานวิจัยอยู่ในระหว่างการยื่นขอสิทธิบัตร และการรับรองจาก อย ผลการทดสอบ protype เบื้องต้น เมื่อนำไปผสมในครีมทาหน้า และตัว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คัน จาก สิว หรือ แมลงกัดได้ดี เนื่องจากนวัตกรรมนี้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งมีมากในประเทศไทย และเป็นเทคโนโลยีสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอาจปรับใช้กับวัตถุดิบในธรรมชาติอื่นๆ ได้อีก จึงมีศักยภาพในการพัฒนา เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไปได้

๒. แพลตฟอร์มการผลิต ยาชีววัตถุ โดยเฉพาะยาประเภท แอนติบอดี Platform นี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือส่วนการค้นหาต้นแบบยาประเภทแอนติบอดี โดยใช้เทคโนโลยี phage display หรือเทคนิคการแสดงโปรตีนบนผิวเฟจ โดยผู้วิจัยได้สร้างคลังแอนติบอดีมนุษย์ชื่อคลังย่าโม ๑ โดยใช้เลือดจากชาวนครราชสีมา ๑๗๐ คน เป็นต้น แบบในการสร้างคลัง จากนั้นได้นำไปใช้เป็นแหล่งค้นหายาที่มีโครงสร้างเป็นแอนติบอดีชนิดใหม่ๆ ที่อาจจำไปใช้รักษาโรคที่ยังไม่มีทางรักษาหาย เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานตัวเอง โรคติดเชื้อดื้อยา รวมทั้งใช้ในการตรวจหาสารปนเปื้อน หรือสารบ่งชี้การเป็นโรคต่าง ๆ ในอนาคตได้ด้วย และนอกจาก platform การค้นหายาตัวใหม่แล้ว ผู้วิจัยยังได้พัฒนาเทคนิคการผลิตยาประเภทแอนติบอดี ขึ้นมาเพื่อใช้เองในประเทศด้วย โดยเป็นการพัฒนาเซลล์สัตว์ให้มีประสิทธิภาพดีในการผลิตยาประเภทแอนติบอดีสำหรับให้เพียงพอต่อการนำไปใช้รักษาโรคได้ต่อไป ด้วยยาประเภทแอนติบอดี และยาในกลุ่มชีวผลิตภัณฑ์นี้ มีมูลค่าสูงมาก คือเข็มละ หลายพัน ถึงล้านบาท ทำให้ในปัจจุบันโอกาสที่คนส่วนใหญ่จะเข้าถึงยาประเภทนี้มีน้อยมาก แพลตฟอร์มที่ห้องปฏิบัติการได้พัฒนาขึ้นมานี้ อาจนำไปใช้ผลิตยาในกลุ่มนี้ในอนาคต เพื่อให้คนทุกคนเข้าถึงได้ รวมทั้งยังอาจส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ต่อไปอีกด้วย

งานวิจัยในห้องปฏิบัติการได้งบประมาณจากภาครัฐหลายหน่วยงานให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วช สกว ในอดีต สวทช สวก สวรส และหน่วยงานจากต่างประเทศ อาทิ IFS, eASIA, AUNP, Erasmus, Newton Fund ผู้วิจัยมีความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ อาทิ มหิดล จุฬา ธรรมศาสตร์ ศิลปากร รังสิต และมหาวิทยาลัยชั้นนำใน ออสเตรีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค


OUR FOUNDER

3c3a0018


Prof.Dr. Montarop Yamabhai
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร. มณฑารพ ยมาภัย

Professor in Molecular Biotechnology, School of Biotechnology, Institute of Agricultural Technology, Suranaree University of Technology